โคพันธุ์แองกัส – Angus Cattle

แองกัส เป็นโคเนื้อพันธุ์เก่าแก่อันดับ 3 ที่ได้จดทะเบียนเป็นพันธุ์โคถัดจากชอร์ตฮอร์นและเฮอร์ฟอร์ด โคแองกัสเป็นโคไม่มีเขาโดยธรรมชาติ มีสีดำทั้งตัว อาจจะมีสีขาวได้บ้างบริเวณเต้านม โคแองกัสเป็นโคที่มีความสมบูรณ์พันธุ์สูง คลอดลูกง่าย ถึงวัยเจริญพันธุ์เร็ว

โคพันธุ์บราห์มัน (Brahman)

คำว่า “บราห์มัน” มาจาก Brahmini ที่มาของชื่อ คือ มีประเพณีทางศาสนาพราหมณ์ที่มีพ่อโคศักดิ์สิทธิ์ที่ชื่อพราหมณีโคพันธุ์บราห์มัน มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศ อินเดีย (India) แต่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

โคเนื้อกำแพงแสนรุกตลาด

นายมนัส เรียบร้อย รองประธานสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด เผยว่า หลังจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้นำโคเนื้อสายพันธุ์บราห์มัน โคพันธุ์พื้นเมือง และโคพันธุ์ชาโรเลส์มาปรับปรุงสายพันธุ์ กระทั่งได้โคลูกผสมพันธุ์กำแพงแสน

ไทยแบล็ก-วากิว อีกความหวังเกษตรไทย

ซุ่มพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อไทยให้กลายมาเป็นเนื้อระดับพรีเมียม นุ่มเนียน มีไขมันแทรกระดับเดียวกับเนื้อวากิว หรือเนื้อโกเบ มานานร่วม 12 ปี

โคพื้นเมืองภาคใต้ (โคชน)

ลักษณะประจำพันธุ์ มีสีแดง สีน้ำตาลอ่อน ดำ และด่าง ไม่มีเหนียงสะดือ มีเหนียงคอบาง น้ำหนักแรกเกิด 15 กก. น้ำหนักหย่านม เมื่ออายุ 200 วันเฉลี่ย 88 กก. น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 280 – 320 กก.เพศเมีย 230 – 280 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 3 ปี ระยะการอุ้มท้อง 270 – 275 วัน

โคพื้นเมืองภาคกลาง

ลักษณะประจำพันธุ์ นิสัยเปรียว ตื่นตกใจง่าย ลำตัวยาวบาง มีสีแดง สีน้ำตาลอ่อน น้ำตาลแก่ ดำ และด่างไม่มีเหนียงสะดือ มีเหนียงคอบาง น้ำหนักแรกเกิด 14 กก.

โคพื้นเมืองภาคเหนือ (ขาวลำพูน)

ลักษณะประจำพันธุ์ เขาและกีบเท้า มีสีน้ำตาลส้ม ขอบตา และเนื้อจมูก มีสีชมพูส้ม ขนพู่หา สีขาวไม่มีเหนียงสะดือ ขนาดเหนียงปานกลางไม่พับย่นมาก เหมือนกับโคบราห์มัน

โคพื้นเมือง ของไทยมีกี่สายพันธุ์

โคพื้นเมือง ได้มีการเลี้ยงดูมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดในสายพันธุ์ดั้งเดิมและประวัติความเป็นมาในอดีต โคพื้นเมืองจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของประเทศ โดยโคพื้นเมืองจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของประเทศ