โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นโรคระบาดชนิดเฉียบพลันของสัตว์กีบ เช่น โค กระบือ สุกร แพะ แกะ กวาง โดยเฉพาะโคในประเทศไทย มักจะป่วยด้วยโรคนี้อยู่เสมอ
สาเหตุและอาการ
โรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มักจะระบาดในตอนต้นฤดูฝนเป็นส่วนใหญ่ การระบาด ก็มักจะเกิดจากการสัมผัสกันระหว่างสัตว์ป่วยกับสัตว์ดี หรืออาจติดต่อกันโดยการกินอาหาร และน้ำที่มีเชื้อไวรัสนี้ ปะปนนอกจากนี้ก็อาจจะติดต่อกันโดยทางอื่นๆ อีกหลายทาง เพราะเชื้อไวรัสจะมีอยู่ในน้้าลาย, สิ่งขับถ่ายตลอดจนน้้านมของสัตว์ป่วย
หลังจากสัตว์ได้รับเชื้อไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกายแล้วประมาณ 2 – 7 วัน ก็จะแสดงอาการออกมาให้ เห็นโดยสัตว์ป่วยจะมีไข้ เบื่ออาหาร หยุดเคี้ยวเอื้อง กระหายน้้า แสดงอาการโรคปากอักเสบอย่างเฉียบพลันน้ำลายไหลยืดเป็นสาย กัดฟัน มีเม็ดตุ่มเกิดขึ้นที่เยื่อเมือกภายในช่องปาก เช่น ที่ลิ้น, ริมฝีปาก, เหงือก, เพดาน และเม็ดตุ่มเหล่านี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 ซม. มีผนังบาง ภายในมีน้้าสีฟางแห้ง ต่อมาเม็ดตุ่ม จะแตกภายใน 24 ชม. เกิดเป็นแผลแดง ซึ่งสัตว์จะเจ็บปวดมากถ้าไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน แผลจะหายภายใน 7 วัน
แต่ส่วนใหญ่สัตว์ที่ตายก็เนื่องจากบาดแผลที่ช่องปาก ท้าให้สัตว์กินอาหารไม่ได้ อ่อนแรง ซูบผอม ความต้านทานลดลง เชื้อโรคอื่นๆ ก็จะเข้าแทรกซ้อนท้าให้สัตว์ตายได้ โดยเฉพาะลูกสัตว์มีโอกาสตายมาก
สำหรับเม็ดตุ่มที่เท้าสัตว์ป่วยบริเวณกีบ และซอกกีบจะปรากฏให้เห็นหลังจากเกิดเม็ดตุ่ม ที่ปากแล้ว 2-5 วัน ต่อมาเม็ดตุ่มนี้จะแตกออก ผิวหนังลอกหลุด เกิดเป็นแผล สัตว์ป่วยจะเจ็บปวดที่เท้าท้าให้ เดินขากระเผลก ตรงบริเวณไรกีบจะบวม และเจ็บปวดมาก อาจถึงกับล้มลงนอน โดยมากแล้วจะมี เชื้อแบคทีเรียอื่นเข้าแทรกซ้อนตรงบริเวณบาดแผล ท้าให้บาดแผลอักเสบลุกลามมาก อาจกินลึกเข้าไปในกีบ บางทีถึงกับท้าให้หลุดได้ แผลที่เท้านี้อาจเป็นทั้ง 4 เท้า หรือเป็นบางเท้าก็ได้
ในบางรายอาจจะเกิดเม็ดตุ่มขึ้นที่บริเวณหัวนม และเต้านมด้วย ในรายเช่นนี้มักจะเกิดโรค แทรก คือ เต้านมอักเสบ
สัตว์ที่เป็นโรค ปาก และเท้าเปื่อยนี้ ถ้าไม่มีโรคแทรกสัตว์จะหายป่วยภายใน 2-3สัปดาห์แต่ถ้า มีโรคแทรกอาจกินเวลาหลายอาทิตย์หลายเดือนกว่าจะหาย สัตว์มักจะไม่ค่อยตาย
การรักษาและการป้องกัน
เมื่อสัตว์ป่วยโรคนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะโรคนี้ไม่มียารักษาถ้าเป็นแล้วต้องใช้ยาบ้ารุง, ยาปฏิชีวนะป้องกันโรคแทรกซ้อน ส่วนการป้องกันคือ
- สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับสัตว์โดยน้าสัตว์ไปฉีดวัคซีนทุก 6 เดือน
- ท้าลายสัตว์ป่วยหรือแยกสัตว์ที่สงสัยว่าป่วยออกต่างหากจากสัตว์ดี