วัวที่เป็นโรคนี้เราต้องมาสังเกตดูการหายใจให้ดีๆครับเพราะวัวบางตัวเมื่อเป็นโรคนี้แล้วภูมิคุ้มกันจะตกลงทำให้ติดเชื้อโรคแทรกซ้อนได้ง่ายมากครับที่เจอบ่อยๆคือการติดเชื้อแทรกซ้อนที่ระบบทางเดินหายใจ โดยวัวจะมีน้ำมูกที่สีเปลี่ยนไปมากครับเช่นขุ่นขาว เหลือง หากเป็นอย่างนี้ต้องระวังเลยครับนอกจากจะปูฟางรองพื้นคอกแล้วอาจจะต้องกั้นข้างคอกด้วยผ้าใบเพื่อกันลมโกรก
เมื่อวัวอยู่ในคอก ที่มีการเตรียมปูฟางไว้อย่างดีแล้วเราก็มาดูเรื่องยาที่จะฉีดกันบ้างครับ เนื่องจากที่ผมได้บอกไปแล้วว่าโรคนี้เป็นเชื้อไวรัสดังนั้นขอบอกเลยว่าไม่มียาตัวไหนฆ่าเชื้อไวรัสได้ครับ ( อ้าว แล้วเราจะฉีดยารักษาทำไม)จริงอยู่ครับที่ไม่มียาฆ่าได้แต่ภูมิคุ้มกันของเรา ทำลายมันได้ครับดังนั้นยาที่เราจะให้ก็คือรักษาตามอาการเช่นถ้าวัวมีไข้ก็ให้ยาลดไข้ ตัวไหนเริ่มมีการติดเชื้อแทรกซ้อนก็ให้ยาปฏิชีวนะกันไว้ครับ แล้วพอร่างกาย อันนี้คือหลักการหลักๆครับ
แล้วถ้าวัวป่วยเป็นโรคนี้เราควรใช้ยาอะไรบ้าง?
อันนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนอยากรู้และถกเถียงกันมากครับ บางคนบอกว่าไม่ต้องฉีดยาก็หาย บางคนบอกฉีกเข็มสองเข็มก็หาย บางคนถึงกับให้น้ำเกลือถึงจะหายก็มี แล้วถ้าถามผมว่าอันไหนดีสุด ขอฟันธงครับว่าถูกทุกข้อ ที่ตอบแบบนี้ไม่ได้กวนครับแต่เป็นแบบนั้นจริง เพราะโรคนี้เมื่อเป็นแล้วร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันครับวัวจะหายป่วยภายในสามวัน แต่ปัญหาถัดมาคือวัวที่สุขภาพร่างกายไม่ดีอยู่แล้วมักจะทำท่าไม่มีแรงจะล้มแถมยังมีการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่นภาวะปอดบวมพวกนี้ จะมีไข้สูงพร้อมกับหายใจลำบากเราควรที่จะให้ยาปฏิชีวนะกันเอาไว้ก่อนครับพร้อมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด ด้วยอันนี้คือเหตุที่บางคนบอกฉีดเข็มสองเข็มก็หาย พวกสุดท้ายครับพวกที่ต้องให้น้ำเกลือพวกนี้เป็นหนักครับไข้สูงมากๆ และยังมีการติดเชื้อแทรกซ้อน กล้ามเนื้อมีการสั่นเกร็ง วัวแสดงอาการปวดมาก พวกนี้เราจะให้ยาลดไข้แก้ปวดเข้าเส้นเลือดครับเพราะเร็วหน่อย ในน้ำเกลือก็จะให้แคลเซียมด้วย พร้อมกับยาบำรุงครับ ทีนี้เรามาลองสังเกตดูครับวัวที่เป็นโรคนี้ถ้าน้ำหนักตัวมากๆเวลานอนแล้วก็จะลุกยากครับ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือเจ้าของต้องหมั่นสังเกตวัวตัวเองครับ ว่าตัวไหนเริ่มป่วยก็จับขังคอกเลยครับอย่าปล่อยให้เดินไปไกลๆเดี๋ยวไปนอนกลางทุ่งแล้วจะยุ่งตอนย้ายเข้าคอกครับ แล้วเราก็จับฉีดยาเลยโดยยาที่ใช้หลักๆก็มีดังนี้ครับ
- ยาลดไข้แก้ปวด จะมีกลุ่มDipyrone, Phenylbutazonec และ Diclofenac ยาพวกนี้จะช่วยลดการปวดเส้นเอ็นกล้ามเนื้อและลดไข้ได้ครับโดยยาที่ผมเลือกให้มาฉีดวัวท้องได้ครับ เพราะไม่มีสเตียรอยด์ โดยชื่อการค้าจะมีดังนี้ครับNovacillan(โนวาซิลแลน) Genergin(เยนเนอยิ่น) Butasyl(บิวทาซิล) และ Diclofenac(ไดโคฟีแนค) ขนาดยาที่จะใช้ก็คิดเป็น1ซีซี:น้ำหนักตัวสัตว์10-20กก.ก็ได้ครับ(เหมารวมครับเพราะจำง่ายดี)เช่นวัวหนัก200กก.เราก็ฉีดยา10ซีซีก็ได้ครับ
- ยาปฎิชีวนะ จะใช้ยาพวก Oxytetracycline(อ๊อกซี่เตตร้าไซคลิน) Penicillin+Streptomycin (ที่เราชอบเรียกันว่าเพนสเตปน่ะครับ) โดยตัวอ๊อกซี่ใช้ขนาด1ซีซี:น้ำหนักตัวสัตว์10กก ส่วนเพนสเตปใช้1ซีซี:น้ำหนักตัวสัตว์10-20กก.
- ยาบำรุง อันนี้แล้วแต่จะให้ครับจะเป็นพวก คาโตซาล โทโนฟอสฟาน ก็ดีครับให้ซัก10-20ซีซีก็ได้ครับให้ดูขนาดตัวเอา
แค่นี้ครับยาหลักๆที่เราใช้กันแต่สิ่งสำคัญคือเจ้าของต้องสังเกตวัวตัวเองด้วยครับว่าเขาผิดปกติไหม หากปล่อยจนนอนแล้วเวลามานั่งรักษามันก็เหมือนวัดดวงครับ บางตัวไข้หายแล้ว ไม่มีการติดเชื้อแต่ไม่ยอมลุกก็มีครับนอนเหมือนเป็นผักเลยครับกินหญ้าได้ ถ่ายได้แต่ไม่ลุก ต้องมานั่งจับขึ้นรอกกันก็มีครับโดยใช้รอกสองตัวครับตัวหนึ่งอยู่ที่ด้านหัวไว้แขวนเปล อีกตัวอยู่ทางด้านท้ายแต่ของผมจะใช้ตัวหนีบสะโพกครับไม่ใช้เปล เพราะหากใช้เปลแล้วเวลาวัวขึ้นมันจะห่อตัวครับแล้วมันก็จะรัดวัวหายใจไม่ออกครับตาย! เวลาขึ้นต้องค่อยๆขึ้นครับ ไม่ใช่ชักกันเอามันส์วัวตายครับ ตอนขึ้นรอกนี่ควรมีคนอยู่ซัก3-4คนครับ จะได้ช่วยกันดูและจัดท่าทางเมื่อวัวอยู่ในท่าปกติแล้วก็ค่อยๆหย่อนรอกลงมาครับให้อยู่ในระดับที่วัวยืนได้แล้วก็ช่วยนวดเนื้อครับ เลือดจะได้มาเลี้ยงขาขึ้นครั้งละ15นาทีวันหนึ่งซักสี่ครั้ง แล้วก็ประเมินดูอาการครับหากทำไปแล้วสี่วันอาการไม่ดีขึ้นก็ทำใจครับ เพราะจะลุกยากขึ้นเรื่อยๆ
แล้วจะป้องกันอย่างไรดี
อย่างที่เรารู้กันครับว่าพาหะคือแมลงดังนั้นต้องลดจำนวนแมลงลงครับคือห้ามนำขี้วัวมาเททิ้งใกล้ๆคอกเพราะพวกนี้เป็นแหล่งเพาะแมลง กวาดพื้นคอกให้สะอาด ตรวจดูมุ้งว่ามีรูรั่วเยอะไหม พ่นยาฆ่าแมลงที่ตัวสัตว์และในคอกด้วย ยาที่นิยมใช้ก็มี Cypermethrin Butox Fendona และอีกหลายตัวครับ บางคนอาจจะใช้EMก็ได้ครับไม่ว่ากัน
จบแล้วครับสำหรับตอนนี้ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณพี่น้องที่อ่านบทความที่ผมเขียนครับผมยินดีรับคำติชมครับเพราะหากไม่มีคำติเราก็คงไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้ครับ