“กากมันหมักยีสต์”เป็นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ที่ผลิตจากวัตถุดิบเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันได้แก่ กากมันสำปะหลังเปียก (กากเปียก) โดยการนำมาแปรรูปหมักร่วมกับ น้ำหมักยีสต์เพื่อช่วยเพิ่มโปรตีนและพลังงานตลอดจนคุณค่าทางโภชนะอาหารอื่นๆตามความต้องการของสัตว์ที่สำคัญกากมันหมักยีสต์มีต้นทุนการผลิตต่ำ ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิตใช้ได้เอง ในฟาร์มสามารถช่วยแก้ปัญหาวิกฤตอาหารสัตว์ราคาแพงในปัจจุบันตลอดจนช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโคนม-โคเนื้ออีกด้วย
กระบวนการผลิตกากมันสำปะหลังสดหมักยีสต์กรณีทำเป็นบ่อหมัก
วัสดุและอุปกรณ์
1). ยีสต์ขนมปัง (Barker yeast)
2). น้ำตาลทรายแดง
3). กากน้ำตาล
4). ปั้มลมออกซิเจน
5). ถังพลาสติกขนาดบรรจุ 1,500ลิตรจำนวน 1ใบ และขนาดบรรจุ 70ลิตรจำนวน 1ใบ
6). ปั้มน้ำไดโวขนาด 1นิ้ว
7). ผ้าพลาสติกไวนิลขนาด กว้าง 3.5เมตรx ยาว 4.5เมตร
8). บ่อหมักขนาดกว้าง 3เมตรx ยาว 4เมตรx สูง 80 เซนติเมตร
9). น้ำสะอาด
10). ปุ๋ยยูเรีย
11). กากมันสำปะหลังสด จำนวน 6 ตัน
ขั้นตอนการผลิตกากมันสำปะหลังสดหมักยีสต์ (มันหมักยีสต์)
- ชั่งน้ำตาลทรายแดง จำนวน 4กิโลกรัมผสมในน้ำสะอาดปริมาตร 40ลิตรทำการละลายให้เข้ากัน (ภาชนะบรรจุควรมีขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 70ลิตร)
- เติมผงยีสต์จำนวน 2กิโลกรัมหรือ 4ก้อน ลงในสารละลายน้ำตาลแดงและผสมขยี้ให้เป็นเนื้อเดียวกันปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลา 10นาที
- เตรียมสารละลายกากน้ำตาล + ยูเรีย เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงยีสต์ ดังนี้
3.1เติมน้ำสะอาดลงในถังพลาสติกที่เตรียมไว้จำนวนปริมาตร 1,000ลิตร
3.2ชั่งยูเรียจำนวน 40กิโลกรัม+ กากน้ำตาลจำนวน 50กิโลกรัมเทลงในถังพลาสติก ขนาด 1,500 ลิตรที่เตรียมไว้และผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน - เมื่อครบเวลาที่กำหนด 10นาที ทำการเทหัวเชื้อน้ำยีสต์ที่เลี้ยงไว้ ลงในถังพลาสติก ขนาด 1,500 ลิตรและใช้ปั้มลมเพื่อเติมออกซิเจนหรือใช้ไว้กวนบ่อยๆเพื่อให้ยีสต์กระจายทั่วอาหารเลี้ยงเชื้อเป็นเวลาอย่างน้อย 1ชั่วโมง
- บ่อหมักที่เตรียมไว้ควรมีกากมันสำปะหลังประมาณ 6,000 กิโลกรัม (6ตัน) โดยทำการกระจายให้ทั่วบ่อและเมื่อครบเวลาที่กำหนดใช้ปั้มน้ำไดโวดูดน้ำหมักยีสต์ที่เตรียมไว้ฉีดพ่นลงในกากมันในบ่อหมักและผสมให้เข้ากันด้วยวิธีการต่างๆของแต่ละฟาร์ม โดยพยายามกระจายน้ำหมักให้ทั่วบ่อหมัก
- ปิดด้วยพลาสติกไวนิลให้สนิทและหมักไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน และเมื่อครบเวลาที่กำหนดแล้วนำไปเลี้ยงสัตว์ต่อไป
ขอบคุณที่มา : ดร.สิทธิศักดิ์ คำผา (ดร.น้อย)
สาขาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม