เพราะเป็นพันธุ์โคเนื้อที่นิยมเลี้ยงมากในประเทศผลิตเนื้อโคส่งออก”
โคแองกัส – Angus Breed
ดร.สรรเพชญ โสภณ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
แองกัส เป็นโคเนื้อพันธุ์เก่าแก่อันดับ 3 ที่ได้จดทะเบียนเป็นพันธุ์โคถัดจากชอร์ตฮอร์นและเฮอร์ฟอร์ด โคแองกัสเป็นโคไม่มีเขาโดยธรรมชาติ มีสีดำทั้งตัว อาจจะมีสีขาวได้บ้างบริเวณเต้านม โคแองกัสเป็นโคที่มีความสมบูรณ์พันธุ์สูง คลอดลูกง่าย ถึงวัยเจริญพันธุ์เร็ว
พ่อโคแองกัสมีความสมบูรณ์พันธุ์ดี ผสมติดในอัตราสูงแม้จะคุมฝูงขนาดใหญ่และให้ลูกได้อย่างต่อเนื่องในฝูง ส่วนแม่โคแองกัสเป็นแม่โคที่ดี ดูแลง่าย ถูกคัดเลือกมาให้มีขนาดปานกลางและมีความสามารถในการให้ลูกได้อย่างสม่ำเสมอ
ในด้านการให้เนื้อ โคแองกัสสามารถขุนให้ได้น้ำหนักที่ต้องการได้เร็ว ด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่ดี มีพื้นที่หน้าตัดสันนอกใหญ่และเปอร์เซ็นต์ซากสูง ในเนื้อมีไขมันแทรกมาก ให้ความรู้สึกดีในการบริโภคสูงเมื่อเทียบกับโคเนื้อพันธุ์อื่นๆ นอกจากนี้ยังมีลักษณะสะสมทางพันธุกรรมที่ดี สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมที่ดีของโคเนื้อที่ดีออกไปได้มาก เมื่อใช้ผสมรวมพันธ์กับโคพันธุ์อื่นในการผลิต โคเนื้อเชิงพาณิชย์
โคแองกัสในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งในอังกฤษ อเมริกา และ ออสเตรเลีย โดยมีชื่อเสียงในด้านของความสามารถผลิตเนื้อคุณภาพสูง ให้เนื้อนุ่ม มีสีแดงสวยและมีไขมันแทรกในกล้ามเนื้อมาก ร้านสเต็คที่มีใบรับประกันว่าใช้เนื้อจากโคแองกัส ก็มักจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ
กำเนิดพันธุ์
โคแองกัส แต่เดิมเมื่อเริ่มจดทะเบียนเรียกว่า อเบอร์ดีน แองกัส ได้รับการพัฒนาพันธ์มาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 จากโคดั้งเดิมที่ไม่มีเขาซึ่งส่วนใหญ่มีสีดำ และอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสก๊อตแลนด์ ซึ่งในท้องถิ่นเรียกว่า “ด๊อดดี”(doddies) และ “ฮัมลีย์”(Hummlines) ได้มีการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์โคเหล่านี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1808 ในระยะเริ่มแรกการคัดเลือกและปรับปรุงพันธ์ทำในพื้นที่เมืองแองกัสอเบอร์ดีน ออฟโมเรย์ พันธุ์โคจากพื้นที่เหล่านี้ได้สืบทอดกันมาจนนำมาสู่การจดทะเบียนเป็นพันธุ์อเบอร์ดีน แองกัส ในปี ค.ศ.1862 และกระจายไปทั่วเกาะอังกฤษ และไอร์แลนด์จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
โคอเบอร์ดีน แองกัส ได้แพร่กระจายไปยังอาณานิคมของอังกฤษ เช่น ออสเตรเลีย(ค.ศ.1840) นิวซีแลนด์(ค.ศ.1863) อเมริกา(ค.ศ.1873) อาร์เจนตินา(ค.ศ.1879) และอัฟริกาใต้(ค.ศ.1875) ในปัจจุบันประเทศเหล่านี้เรียกโคอเบอร์ดีนแองกัสว่าแองกัสเท่านั้นและตั้งสมาคมแองกัสของแต่ละประเทศเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงดูแลธุรกิจและปรับปรุงพันธุ์โคแองกัส
Aberdeen Angus cattle, J.G. Morrison, Lincolnton, NC, Apr. 8, 1941
จุดเด่นของโคแองกัส
- คลอดง่าย ให้ลูกแข็งแรงและมีชีวิตรอดสูง เพราะแม่โคแองกัสมีสัญชาตญาณในความเป็นแม่ที่ดี และลูกโคแองกัสก็มีสัญชาติญาณในการอยู่รอดสูงเช่นกัน ลูกโคแองกัสจะลุกขึ้นยืนและเริ่มดูดนมได้เร็วหลังจากคลอด
- ลักษณะความเป็นแม่ยอดเยี่ยม ความสามารถในการให้น้ำนมสูง
- ถึงวัยเจริญพันธุ์เร็ว มีความสมบูรณ์สูงและต่อเนื่อง
- ไม่มีเขาโดยธรรมชาติ
- ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
- อัตราการแลกเนื้อดี แม้จะเป็นลูกผสมกับโคพันธุ์อื่น
- ไขมันแทรกกล้ามเนื้อดีโดยธรรมชาติ ทำให้เนื้อนุ่ม มีรสชาติดี สีเนื้อและสีไขมันสวย
- ขนาดและคุณภาพซากพอเหมาะดี
ความนิยมของการเลี้ยงโคแองกัสทั่วโลก
โคแองกัสนับว่าเป็นพันธุ์โคเนื้อนานาชาติอย่างแท้จริง เพราะเป็นพันธุ์โคเนื้อที่นิยมเลี้ยงมากในประเทศผลิตเนื้อโคส่งออก อย่างสหรัฐอเมริกา แคดานา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอาร์เจนตินา โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตเนื้อคุณภาพสูง
สมาคมแองกัสในประเทศต่างๆมีดังนี้
- อังกฤษ (ABERDEENANGUS CATTLE COCIETY, http://www.Aberdeenangus.co.uk/)
- อเมริกา (AMERIEANANGUS ASSOCIATION, http://www.angus.orh/)
- อาร์เจนตินา (ASSCIATION ARGENTINA DE ANGUS, http://www.angus.org.ar/)
- แคดานา (CANDADIANANGUS ASSOCIATION, http://www.cdnaangus.ca/)
- ชิลี (CHILEAN ANGUS ASSOCIATION, http://business.fortunecity.com/recession/18/index.html)
- นิวซีแลนด์ (NEW ZEALAND ANGUS ASSOCIATION, http://www.nzaangus.co.nz/)
- อัฟริกาใต้ (SOUTH AFRICAN ANGUS SOCIETY, http://studbook.co.za/society/angus/ang.html)
- สวีเดน (SWEDISH ANGUS ASSOCIATION, http://www.Angus-se.om/)
- บราซิล (Associacoation Brasileira de Angus, http://www.angus.or.br/)
- เม็กซิโก (Associacoation Angus Mezicanna,A.C. , http://www.mexicogandero.com/angus/asociacion.html)
- นอร์เวย์ (Norwegian Aberdeen-Angus Associacoation, http://www.kjottfe.no/Aberdeen-angus)
การเลี้ยงโคแองกัสในประเทศไทยเป็นไปได้ไหม?
การเลี้ยงโคแองกัสในประเทศไทยก็สามารถทำได้ ถ้ามีเป้าหมายที่ชัดเจนในเรื่องของตลาดและระบบการผลิตเนื้อคุณภาพสูง การได้มาซึ่งพันธุกรรมโคแองกัส อาจทำได้ 2 ลักษณะคือ
- นำเข้าเอ็มบริโอแองกัสเพื่อให้ได้โคแองกัสพันธ์แท้ทันทีผู้เขียนเชื่อว่าโอแองกัสที่เกิดในประเทศไทยจะสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีเช่นกันและเมื่อมีการขยายพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์อย่างต่อเนื่องเราก็จะมีโอกาสที่จะมีโคแองกัสพันธุ์แท้ สำหรับผลิตเนื้อโคคุณภาพสูงในประเทศไทยได้
- นำเข้าน้ำเชื้อโคแองกัสเพื่อผลิตโคลูกผสมแองกัส สำหรับขุนและหรือผสมต่อไปเพื่อยกระดับสายเลือดให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อให้เป็นพันธุ์แท้หรือระดับสายเลือดที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผสมกับโคบารห์มันจะทำให้ได้โคลูกผสมที่ให้เนื้อดีมาก เลี้ยงดูง่ายและทนทานต่อสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ซึ่งในอเมริกาได้ผลิตโคลูกผสม บราห์มันกับแองกัสและคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์จนเป็นโคพันธุ์แบรงกัส
อย่างไรก็ตามควรจะได้มีการศึกษาให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจในด้านการจัดการของระบบการขุนเพื่อให้ได้เนื้อคุณภาพสูง และการแสดงออกของพันธุกรรม ไขมันแทรก ในสภาพแวดล้อมของไทย ซึ่งโคแองกัสก็เป็นโคที่น่าสนใจพันธุ์หนึ่ง ทั้งในแง่ของการนำพันธุกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพเนื้อโคและเพิ่มคุณค่าในการเลี้ยงโคของเกษตรกรไทย
Link ที่เกี่ยวข้องกับวัวพันธุ์แองกัส
- http://en.wikipedia.org/wiki/Angus_cattle
- www.britishangus.com
- http://gullivestockllc.com/angus-2.html
- http://www.fickredangus.com/
- http://www.kennyscreek.com.au/
- http://www.aberdeenangus-swenglandclub.co.uk/
- http://www.bilritefarms.com/Angus.html
- http://www.banner-angus.com/
- http://www.bjcattlecompany.com/
- http://www.doughertybeef.com/
- http://williamsgoldenforty.com/cattle.htm
- http://www.hereford.com/angus-sires.htm
- http://www.gpsranch.com/Quantity-of-Meat-in-a-Beef-Cow.php
- http://marxfood.com/why-free-range-doesnt-do-montana-black-angus-beef-justice/
- http://d.lib.ncsu.edu/
Montana Black Angus Beef is some of the best grass fed beef in the world
บทความนี้ ถูกตีพิมพ์ในหนังสือ โคพันธุ์เนื้อ
ของ บ.พรายทะเลพับลิชชิ่ง จำกัด (โคบาลแมกกาซีน)
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thailivestock.com/cattle_handling/โคพันธุ์แองกัส-angus-cattle