โคพันธุ์เบลเยี่ยมบลู – Belgian Blue Cattle
โคพันธุ์เบลเยี่ยมบลู เป็นสายพันธุ์โคจากประเทศเบลเยียม โคเบลเยี่ยมบลู มีชื่อเสียงในด้าน การมีกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ ที่เรียกว่า “double-muscling” และยังมีข้อดีอื่นๆเช่น ด้านการเจริญเติบโตเร็ว เปอร์เซ็นต์ซากสูง คุณภาพเนื้อดี เนื้อนุ่มมีไขมันต่ำ การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมลักษณะการมีกล้ามเนื้อมากสามารถทำได้ดี และโคเบลเยี่ยมบลูยังถือว่าเป็นโคที่มีกล้ามเนื้อมากที่สุดในโลกอีกด้วย
ประวัติของโคเบลเยี่ยมบลู
สายพันธุ์เกิดขึ้นในภาคกลางและตอนบนของเบลเยียมในศตวรรษที่ 19 จากการผสมข้ามสายพันธุ์ของโคพันธุ์เรดไพน์และแบล๊คไพน์ ในท้องถิ่น กับโคสายพันธุ์ Shorthorn ซึ่งเป็นโคจากสหราชอาณาจักร บางส่วนผสมกับโคพันธุ์ชาร์โรเลย์ การพัฒนาสายพันธุ์ในครั้งแรกเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 โดยพัฒนาจากโคนมที่มีลักษณะกึ่งเนื้อกึ่งนม แต่มาหยุดชะงักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1919 ได้มีการกำหนดลักษณะของการพัฒนาพันธุ์ที่ชัดเจนว่า โคกึ่งเนื้อกึ่งนมจะต้องมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม มีโครงสร้างกล้ามเนื้อดีและให้ผลผลิตน้ำนมดีด้วย การพัฒนาให้เป็นสายพันธุ์โคเนื้อที่ทันสมัยได้รับการพัฒนาในปี 1950 โดยศาสตราจารย์ Hanset ซึ่งทำงานที่ศูนย์ผสมเทียมในจังหวัด Liege การคัดเลือกพันธุ์ดำเนินมาถึงจุดเปลี่ยนในช่วงปี 1960-1970 โดยได้มีการเน้นที่คัดเลือกลักษณะกล้ามเนื้อเป็นลักษณะเด่น จนได้ลักษณะเฉพาะนั้น ผ่านการผสมพันธุ์จนได้โคพันธุ์เบลเยียมบลูพันธุ์แท้ ซึ่งผลการคัดเลือกต่อมาทำให้ โคเนื้อเบลเยี่ยนบลู มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ตะหนอก หลัง และสะโพกใหญ่ขึ้น กระดูกเล็กลง ลำตัวโค้งมน ส่วนหลังใหญ่ท้ายลาดแต่มีกล้ามเนื้อมากเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นลักษณะต้นแบบที่ได้จากพ่อพันธุ์ชื่อ Gedeon และหลานของมันที่เป็นพ่อพันธุ์อีก 2 ตัว (Ganache และ Vaiseur)
การวิจัย โคเบลเยี่ยมบลู มีการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติในยีน มัยโอสแตติน (myostatin) ซึ่งเป็นโปรตีนปัจจัยการเจริญเติบโตที่มีหน้าที่ควบคุมขนาดของกล้ามเนื้อลายของร่างกายไม่ให้ใหญ่เกินไป myostatin (“myo” หมายถึงกล้ามเนื้อและ “statin” หมายถึงหยุด) Myostatin เป็นโปรตีนที่ยับยั้งการพัฒนากล้ามเนื้อ การกลายพันธุ์นี้ไปรบกวนการสะสมไขมัน ทำให้เนื้อไม่ติดมัน ยีน myostatin ที่กลายพันธุ์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้มีการเติบโตของกล้ามเนื้อไม่ติดมันแบบเร่ง การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในเซลล์กล้ามเนื้อของสัตว์ (เส้นใย) จากการเจริญเติบโตมากเกินไปเป็นโหมดการเจริญเติบโตแบบไฮเปอร์พลาเซีย คือภาวะเซลล์แบ่งตัวเกิน หรือ hyperplasia ซึ่งการเจริญเติบโตแบบนี้ ปกติจะเห็นได้ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งจากภาวะ hyperplasia นี้ ส่งผลให้เกิดลูกวัวที่มีจำนวนกล้ามเนื้อเกิดขึ้นเป็นสองเท่าด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบกับลูกวัวที่ไม่มีการกลายพันธุ์ของยีน myostatin ทำให้น้ำหนัก และขนาดแรกเกิดของลูกวัวมากกว่าปกติ อย่างมีนัยสำคัญ
โคเบลเยี่ยมบลู จัดว่าเป็นโคเนื้อขนาดใหญ่ มีรูปร่างโค้งมนและกล้ามเนื้อโดดเด่น ไหล่ หลัง เนื้อซี่โครงและตะโพกมีกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ หลังเป็นแนวตรง ตะโพกมีความลาดเอียง ชุดหางมีความโดดเด่นและมีขาที่แข็งแรงดี และเดินได้คล่องตัวดี
น้ำหนักของโคเบลเยี่ยนบลู ตัวผู้เต็มวัยอยู่ในช่วงตั้งแต่ 1100 และ 1250 กิโลกรัม ความสูงที่ส่วนท้าย 145 ซ.ม. ถึง 150 ซ.ม. ตัวผู้เต็มวัยหนัก 850 ถึง 900 กิโลกรัมและสูงกว่า 140 ซ.ม.
สีของโคเบลเยี่ยนบลู สีเป็นลักษณะด้อย ที่พบมี 3 ลักษณะคือ สีขาวทั้งตัว สีเทาหรือด่าง(blue) และสีดำ สีดำ เป็นสีที่มีผู้เลี้ยงในเบลเยี่ยมชอบน้อยที่สุด ทำให้โคเนื้อเบลเยี่ยนบลูส่วนใหญ่จะมีสีขาวและสีด่าง Belgian Blue ตั้งชื่อตามสีขนสีเทาอมฟ้าของพวกเขา
ซากโคเบลเยี่ยนบลู จากการทดสอบด้วยการขุนจนถึงอายุ 1 ปี ได้น้ำหนัก 480 ก.ก. ได้ซาก 60% เมื่อชำแหละซาก ได้กระดูก 13.4% เนื้อ 78.1% ไขมันและพังผืด 7.5% จากข้อมูลนี้จะเห็นว่าได้เนื้อมากเกือบ 80% ซึ่งเหนือกว่าพันธุ์เนื้ออื่น ๆ
จุดเด่นโคเบลเยี่ยนบลู• โครงสร้างดี กระดูกเล็ก• มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขนาดกำลังดี
• สามารถผลิตเนื้อได้ถึงเป้าหมายขณะอายุน้อย• มีประสิทธิภาพในการใช้อาหารสูง• อารมณ์ดีเลิศ เชื่อง• ระยะเวลาตั้งท้องสั้น• ถ่ายทอดพันธุกรรมให้กับโคลูกผสมได้ดี• เนื้อนุ่มมากเพราะมีเส้นไยกล้ามเนื้อละเอียด รสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง
• การพัฒนาของกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ ให้เปอร์เซนต์ซากสูงกว่า 70% ให้เนื้อมาก ไขมันต่ำ• กล้ามเนื้อพัฒนาได้สูงกว่าปกติ โดยจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่อายุ 4-6 สัปดาห์ จึงทำให้โคเนื้อเบลเยี่ยนบลูมีเส้นไยกล้ามเนื้อมากขึ้นได้ถึง 20 %ในพันธุ์แท้ และเมื่อใช้ในโปรแกรมการผสมข้ามพันธุ์กับโคนมหรือโคเนื้อสายพันธุ์อื่น ๆ มันจะช่วยเพิ่มผลผลิตซากจาก 5-10% ในโคลูกผสมเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ของแม่ เพราะ Pure Belgian Blues มียีนที่ยับยั้งการผลิต myostatin สองชุด ซึ่งเป็นโปรตีนที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อตามปกติ ในการผสมข้ามพันธุ์มักจะส่งสำเนาหนึ่งชุด ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักซากของลูกหลานในโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์ได้ดี
จากการทดสอบความนุ่ม อย่างละเอียดเป็นเวลา 3 ปี โดย USDA ที่ The Meat Animal Research Center, Clay Center, ใน เนบราสกา ด้วยการทดสอบแรงเฉือนแบบวอร์เนอร์ – เบรซเนอร์ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (Warner-Brazner shear test) เนื้อของโคลูกผสมเบลเยียนบลูมีค่าความเหนียวของเนื้อต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ โคเฮอร์ฟอร์ด-แองกัส ปัจจุบันที่ 12.8.vs 12.9 กับการเปรียบเทียบความนุ่มและรสชาติ โดยคณะผู้ชิมทดสอบ โคเบลเยียนบลูยังมีไขมันหุ้มซากบางกว่าครึ่งหนึ่ง ( 0.21 VS 0.45) ลดลง 53% เบลเยียนบลูเป็นโคที่ทำมาตรฐานใหม่หลายอย่าง มีไขมันแทรกน้อยกว่า 16% แต่มี ขนาด ribeye ใหญ่กว่า 14.2% ของค่าเฉลี่ยซาก
อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก Feed conversion ratio (FCR) ในการทดสอบเลี้ยงที่ช่วงอายุ 7-13 เดือน โคเนื้อเบลเยี่ยนบลู สามารถเปลี่ยนอาหาร 5.5 ก.ก. เป็นน้ำหนัก 1 ก.ก. มีการสะสมไขมันต่ำ และสามารถเลี้ยงด้วยอาหารพลังงานสูงได้เพื่อเพิ่มน้ำหนักขึ้นไปโดยไม่มีการเพิ่มของไขมัน โดยปกติถ้าขุนจนถึงอายุ 15-16 เดือนจะได้น้ำหนักถึง 650 ก.ก.
อัตราการผสมเทียมติดในการผสมครั้งแรก 62-65%โดยคิดจากการไม่กลับสัดในช่วง 60-90 วัน
การพัฒนาของกล้ามเนื้อมากกว่าปกตินั้น จำเป็นต้องใช้อาหารที่มีโปรตีนสูง และพลังงานสูง (และเข้มข้น) และจะไม่ใด้ผลลัพธ์เดียวกัน หากเลี้ยงด้วยอาหารคุณภาพต่ำหรือที่มีกากใยสูง
อย่างไรก็ตามด้วยการลดปริมาณของไขมันจะลดปริมาณเนื้อที่มีไขมันแทรกลายหินอ่อนลงด้วย ซึ่งหมายถึงความนุ่มของเนื้อจะลดลง แต่ในทางกลับกัน ความนุ่มของเนื้อโคเบลเยี่ยมบลูนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า อ่อนนุ่มเพราะมีเส้นใยกล้ามเนื้อขนาดละเอียดจำนวนมากปรากฏอยู่หรือไม่?
อย่างไรก็ตามการมีปัญหาแทรกซ้อนระหว่างการคลอดนั้น หมายถึงการเพิ่มค่าใช้จ่ายและเพิ่มงานและสามารถกลายเป็นปัญหาสวัสดิภาพตามมาอีกด้วย
อย่างไรก็ตามความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการปรับปรุงพันธุ์และการเลี้ยงโคเบลเยียมบลูนั้น ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน
ในปี 1978 วัวเบลเยี่ยมบลูได้รับการแนะนำให้รู้จักในสหรัฐอเมริกา โดย Nick Tutt เกษตรกรจากภาคกลางของแคนาดาที่อพยพมาที่เวสต์เท็กซัส
Belgian Blue กำลังได้รับความนิยมเป็นสายพันธุ์เนื้อทั่วโลกและสามารถพบได้ในยุโรป บราซิล อเมริกาแคนาดา และนิวซีแลนด์
ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน แต่น่าจะมีการเลี้ยงโดยการผสมข้ามสายพันธุ์กับโคสายพันธุ์มาหลายปีแล้ว เพราะมีข้อมูลพ่อพันธุ์โคเนื้อลูกผสม สายเลือดเบลเยี่ยมบลู+ชาร์โรเลส์ ในเว็บไซต์โคบาลนิวส์ และมีน้ำเชื้อโคเบลเยี่ยมบลูขายที่ พรชัย อินเตอร์เทรดด้วย