วากิวสีน้ำตาล หรือ อากะอูชิวากิว Japanese Brown
(赤毛和種 Akage Washu or Akaushi)
ประวัติความเป็นมา
เป็นโคที่สำเข้ามาจากประเทศจีนสู่ญี่ปุ่น เพื่อปรับปรุงพันธุ์โค ในยุคสมัยข้าวยากหมากแพงในญี่ปุ่น ในรัชสมัย เมจิ หรือปี คศ. 1868เพื่อนำมาปรับปรุงสายพันธุ์โคในญี่ปุ่น สำหรับเป็นโคนม เนื่องจากในสมัยนั้นเป็นสมัยที่ญี่ปุ่นกำลังพัฒนาประเทศ และขาดแคลนโคนม
ลักษณะของโคอากะอุชิ
เป็นโคที่มีสีน้ำตาล ทั้งเพศผู้และเมีย มีเขาสีน้ำตาล ตามสายพันธุ์ โดยเพศผู้จะมีลักษณะใหญ่กว่าเพศเมีย
โคอากะอุชิในญี่ปุ่น
“พันธุ์ญี่ปุ่นขนน้ำตาล” Japanese Brown (赤毛和種 Akage Washu or Akaushi)หรือ เดิมทีเป็นวัวต้นพันธุ์ในตระกูลวัวแดง ของญี่ปุ่น ซึ่งแม้ว่าจะมีอัตราไขมันในเนื้อต่ำกว่า 12% ความนุ่ม และหอมหวานน้อยกว่าพันธุ์ญี่ปุ่นขนดำ แต่ก็มีรสชาติดี มีความนุ่มพอเหมาะพอควร และลงตัวไม่เลี่ยนจากไขมัน เหมาะสำหรับกินเพื่อสุขภาพ หรือ กลุ่มผู้บริโภค ที่รักสุขภาพ โดยวัวสายพันธุ์นี้จะเจริญวัยได้ดี อัตราการเจริญเติบโตดี มีนิสัยเชื่องกว่าพันธุ์สีดำ มีความแข็งแรง ที่สำคัญคือ ทนต่ออากาศร้อน และให้เนื้อในปริมาณสูงกว่าจึงมักนิยมเลี้ยงในจังหวัดทางตอนใต้ เช่น จังหวัดคุมาโมโตะ และจังหวัดโคจิ หรือ ตามหมู่เกาะต่างๆ ของญี่ปุ่น
ลักษณะเด่นในการเป็นโคผลิตเนื้อ ได้แก่
* การเพิ่มน้ำหนักได้เร็ว ลูกผสมช่ววแรกกับโคสายพันธุ์อื่น จะโตเร็วกว่า 10-20% จะได้น้ำหนักที่ถึงความต้องการของตลาดได้ที่อายุน้อย
* ให้เปอร์เซนต์ซากสูง ให้เนื้อที่มีไขมันแทรกในระดับพอสมควร และมีกล้ามเนื้อมากเมื่อเปรียบเทียบกับวากิวสายอื่น
* มีความสมบูรณ์พันธุ์สูง โคอสกะอุชิ เพศเมียจะถึงวัยเจริญพันธุ์เร็วและมีช่วงชีวิตที่ให้ลูกยาว ส่วนพ่อพันธ์จะมีลูกอัณฑะใหญ่ มีความสามารถในการผสมพันธุ์สูงกว่าโควากิวสายอื่น
* แม่โคอากะอุชิให้น้ำนมดีและมีความสามารถในการเลี้ยงลูกดี ทำให้สามารถผลิตลูกเมื่อหย่านมมีน้ำหนักสูง
* เป็นโคที่เชื่อง ง่ายต่อการจัดการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการการผลิตโคเนื้อ เมื่อจบโปรแกรมขุนจะสามารถลดความเครียด ในระหว่างการฆ่าได้
* เนื่องจากพัฒนาจากโคเขตร้อนจึงสามารถทนร้อนได้ดี
ลักษณะด้อย ได้แก่
* อัตราไขมันแทรกน้อยกว่าโคขนดำ
* ความนุ่มของเนื้อน้อยกว่าโคขนดำ
การพัฒนาสายพันธุ์
ผสมกับแองกัส (Akaushi cross with angus)
โคพันธุ์ อากะอุชิ และโคพันธุ์แองกัส (Angus) มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมจากต้นกำเนิดเดียวกัน โคทั้งสองกลุ่มพันธุ์มีขนาดปานกลาง (Medium size frame) ให้ลูกเก่ง เลี้ยงลูกดี ให้นมลูกมาก มีความเป็นแม่ดี ให้ลูกที่มีน้ำหนักหย่านมสูง และมีไขมันแทรกในกล้ามพอสมควร
เมื่อลูกที่เกิดมาไปขุน ได้น้ำหนักปลายทางก่อนเชือด 750 กิโลกรัม ไขมันแทรก 3-5 และน้ำหนักซากสูงพอสมควร
ผสมกับโคบราห์มัน (Akaushi cross brahman)โคลูกผสมบราห์มันกับโคพื้นเมืองมีมากที่สุดในบ้านเรา สาเหตุที่ต้องมีเลือดโคบราห์มัน 75% เนื่องจากโคอากะบุชิพันธุ์แท้มีขนาดใหญ่ ซึ่งถ้าใช้แม่พื้นฐานที่มีเลือดโคบราห์มันอย่างน้อย 75% เมื่อลูกที่เกิดมาไปขุน ได้น้ำหนักปลายทางก่อนเชือด 750 กิโลกรัม ไขมันแทรก 3-4 และน้ำหนักซากสูง
โควากิวอากะอุชิในไทย
โคสายพันธุ์นี้ยังไม่มีโครงการใดๆ ทางภาครัฐ เพื่อสนับสนุน มีเฉพาะทางภาคเอกชน ที่นำเชื้อเข้ามาจำหน่าย อย่างไรก็ดีโคสายพันธุ์นี้เป็นโคที่น่าจับตามองอีกสายพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์ต่อไปแหล่งที่มาของข้อมูล
https://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_Brown
https://s3.wp.wsu.edu/…/BreedingHistoryofJapaneseBeefCattle…
ที่มาของรูปภาพ
http://www.beefmagazine.co