วัวกีร์
กีร์ เป็นสายพันธุ์หลักของกลุ่มนี้ และสายพันธุ์อื่นๆที่มีลักษณะคล้ายกันแหล่งกำเนิดของสายพันธุ์กีร์คือเขาเตี้ยๆแถบกีร์และป่าทางตอนใต้ของคาบสมุทร Kathiawar ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตSaurashtraชายฝั่งทะเลอาหรับของรัฐกุจราท
วัวสายพันธุ์กีร์มีลักษณะเด่นที่แตกต่างอย่างชัดเจนจากวัวสายพันธุ์อื่นๆ มีใบหูที่ยาวห้อยแกว่งไปมา ด้านในของใบหูหันมาด้านหน้า ปลายหูบิดเข้าด้านใน
ปลายใบหูอยู่เกือบใต้ช่องคอ โดยเฉพาะในลูกวัว กะโหลกด้านหน้ากว้างและยื่นออกมา เขาที่โผล่ขึ้นมาจะชี้ลงไปทางด้านหลัง และหันออกชี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทำให้ปลายเขาของวัวแต่ละตัวจะอยู่ทางด้านหลังของศีรษะ สีของตัวอาจเป็นสีแดงตลอดทั้งตัวหรือแดงและมีด่างขาวสีบนตัววัวส่วนใหญ่จะเป็นรอยแต้มสีที่แตกต่างอย่างชัดเจนกับสีบนพื้นบนตัว กีร์ เป็นวัวให้นมที่ดี แต่หัวนมมักมีขนาดใหญ่ไปในการดูดนมสำหรับลูกวัวแรกเกิดโดยไม่ได้รับการช่วยเหลือหนังหุ้มลึงค์โดยปกติทั่วไปมีขนาดใหญ่และห้อยแกว่งไปมา ตามความเห็นของ Joshi and Phillips
วัวกีร์ ในอินเดียส่วนใหญ่ผสมพันธุ์โดยผู้เพราะพันธุ์ที่เชี่ยวชาญที่เลี้ยงแบบเร่ร่อน
วัวกีร์ มีการอนุรักษ์สายเลือดให้บริสุทธิ์ในประเทศบราซิล และมีความสำคัญต่อการสร้างสายเลือดวัวอเมริกันบราห์มันแดงในสหรัฐ
วัวกีร์ เป็นหนึ่งในสายพันธุ์วัวซีบูทีสำคัญที่มีต้นเกิดในประเทศอินเดีย เป็นสายพันธุ์ที่ใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์วัวอื่นๆในประเทศรวมทั้งสายพันธุ์เรดซินดี้ และชาฮีวาล(มีมากใประเทศปากีสถาน และถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม III ด้วย) มันเป็นสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่ออาการร้อน และสารพัดโรคต่างในภูมิภาคเขตร้อน และเป็นที่ทราบดีถึงคุณภาพในการให้น้ำนม และมักถูกผสมข้ามพันธุ์กับแม่วัวนมสายHolstein-Friesian เพื่อสร้างวัวพันธุ์Girolando
วัวกีร์ ตัวเมียสูง 130 ซม. น้ำหนักเฉลี่ย 385 กิโลกรัม ตัวผู้สูง 135 ซม.น้ำหนักเฉลี่ย 545 กิโลกรัม ให้น้ำนมเฉลี่ย 1,590 กิโลกรัม มีบันทึกสถิติ 3,182 กิโลกรัม ที่ระดับไขมัน 4.5% ในประเทศบราซิลให้น้ำนม 3,500 กิโลกรัม และทำสถิติโลกที่ 17,120 กิโลกรัม(per lactation) โดยแม่วัวที่ชื่อ Profana de Brasília
PROFANA de Brasília วัวกีร์ เจ้าของสถิติโลกที่ 17,120 กิโลกรัม(per lactation)วัวสายพันธุ์ Girolando ลูกผสม กีร์ กับ โฮลสไตน์-ไฟรเชี่ยน(Holstein-Friesian)
ด้วยเหตุที่วัวกีร์ในอินเดียเลี้ยงเพื่อต้องการน้ำนม แต่ทุกวันนี้ คนอินเดียหันมานิยมดื่มนมควายกันแทน(พราะให้ไขมัน พลัง และแร่ธาตูที่สูงกว่านมวัว) ทำให้มีการเก็บวัวกีร์ไว้ในฝูงน้อยลงจนใกล้สูญพันธุ์ กล่าวกันว่า กีร์ที่เป็นสายพันธุ์แท้ๆอาจเหลืออยู่ในรัฐกุจราทของอินเดียเพียงราว 3,000 ตัว ขณะที่ประเทศแถบอเมริกาใต้รู้จักวัวกีร์ในฐานะวัวที่ให้น้ำนมสูง และมีรวมกันราวประมาณ5,000,000 ตัวทุกวันนี้ วัวกีร์กำลังจะแพร่กระจายไปทั่วโลก ในประเทศบราซิลที่เป็นที่ทราบกันว่าเป็นผู้ผลิตตัวอ่อนและน้ำเชื้อแช่แข็งวัวสายเลือดอินเดียรายใหญ่สุดของโลก ประเมินวัวกีร์เป็นสายพันธุ์เทียบเคียงสายเลือดวัวนมที่ดีที่สุดของโลก เป็นสายพันธุ์ที่ต้องการมากในประเทศแถบแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ประเทศไหนหว่า) สายพันธุ์วัวพระเจ้า(Holy cow)นี้ กำลังเป็นสายพันธุ์ทำเงินให้แก่ประเทศบราซิลขณะที่ในประเทศอินเดีย มีMr. Mansukhbhai Suvagiyaในหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่งของตำบล Junagadh พยายามกระตุ้นให้คนอินเดียให้กลับมาเห็นคุณค่าของวัวสายพันธุ์นี้ และร่วมกับเพื่อนๆในรัฐกุจราทตั้งโครงการสร้างวัวกีร์ระดับคุณภาพให้ได้ 10 ล้านตัว ก่อนไปต่อ ขอสรุปสายพันธุ์วัวอินเดียเพื่อการทบทวนนะครับ
วัวพื้นเมืองของประเทศอินเดียมีมากกว่า 30 สายพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 คือ วัวแคนเกรท หรือ กุซราท เป็นวัวทางตอนเหนือของอินเดีย และปากีสถานแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ
เป็นวัวขนาดใหญ่สุด ตัวมีสีเทา หัว-ท้ายมีสีเข้ม ลำตัวตอนกลางสีอ่อนกว่าส่วนอื่น ศีรษะกว้าง หน้าสั้น กกเขาใหญ่และมีหนังหุ้มโคนเขา วงเขากว้างเป็นรูปพิณโบราณ ใบหูกว้าง ใหญ่ และหันเปิดออกมาด้านหน้า รูปร่างหนาทึบลำตัวลึก ขาไม่ยาว เลี้ยงไว้ใช้งานลากหนักๆ และให้นมพอใช้ได้
กลุ่ม 2 คือ วัวเนเลอร์ เป็นวัวเทา-ขาวขนาดกลาง ศีรษะยาว-แคบ ขายาว เขาเล็ก-สั้น ใบหูมีขนาดเล็ก เลี้ยงไว้ใช้งาน และให้นมดี เป็นวัวที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ขยายพันธุ์กระจัดกระจายทั่วอินเดียตามประวัติศาสตร์การแพร่ขยายอิทธิพลในยุคการรุกรานของชาวอารยัน มีมากแถบตอนกลางของประเทศ เป็นวัวที่เข้าได้กับทุกสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมกลุ่ม 3 คือ วัวกีร์ มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษคือ หัวโหนก ใบหูใหญ่และยาว เป็นวัวที่ให้น้ำนมดีมาก ส่วนใหญ่มีสีแดง หรือรอยแต้มจุดทั่วทั้งตัว อยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธุ เขตปากีสถานและรัฐแคนกรทของอินเดีย เป็นวัวที่มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดีมากกลุ่ม 4 วัวกลุ่ม Mysore type เป็นวัวพื้นเมืองทางตอนใต้สุดของอินเดีย เป็นวัวขนาดเล็กแบบต่างๆทั้งโหนกใหญ่โหนกเล็กแบบวัวไทย วัวสีเหลืองของจีน เป็นวัวทรหดอดทนสุดๆ แต่เป็นวัวที่ถูกกลืนลักษณะได้ง่ายจากการผสมข้ามพันธุ์ เป็นวัวที่ให้น้ำนมน้อย แต่ออกลูกเก่ง
กลุ่ม 5 และ6 เป็นวัวที่ไม่มีบทบาทต่อการพัฒนาวัวบราห์มันในสหรัฐ
โดยสรุป จะเห็นได้ว่า วัวสายพันธุ์อินเดีย ชาวอินเดียเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน และผลิตนมเป็นหลัก ไม่มีสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นวัวเนื้อเพื่อการบริโภคโดยเฉพาะ ที่เป็นเช่นนี้เพราะประวัติศาสตร์วัฒนธรรมประเทศของเขาสืบทอดมานับพันๆปี นับถือศาสนาที่ไม่บริโภคเนื้อ นับตั้งแต่3,000ปี ก่อนคริส์ตศักราชที่ชาวพื้นเมืองยุคก่อนชาวอารยันเข้ามามีอิทธิพลนับถือวัวเป็นสัตว์พาหนะของพระเจ้า เป็นสัตว์ให้คุณ และชาวอารยันที่แพร่อิทธิพลครอบครองอินเดียสืบทอดความเชื่อตกทอดมาเป็นศาสนาพราหณ์ เป็นศาสนาพุทธในช่วงหนึ่ง และกลับมาเป็นศาสนาฮินดูในที่สุด ซึ่งตลอดระยะการสืบทอดศาสนาต่อเนื่องมานับพันๆปี ไม่ส่งเสริมคนอินเดียให้บริโภคเนื้อสัตว์ แต่เป็นบราซิล และชาวอเมริกันที่นิยมการบริโภคเนื้อสัตว์นำสายพันธุ์วัวในประเทศอินเดียเหล่านี้ไปพัฒนาเป็นวัวเนื้อ
พรชัย สุวรรณภูมิ
แหล่งที่มา : http://www.thailivestock.com