1. อาหารหยาบ
อาหารหยาบ คือ อาหารที่มีเปอร์เซนต์ของเยื่อใยสูง มีเปอร์เซนต์ของโปรตีนต่ำ ส่วนใหญ่ได้แก่หญ้า อาหารหยาบเป็นอาหารหลักของโค และสัตว์กระเพาะรวมอื่นๆ ซึ่งได้จาก 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ
- หญ้า อาจได้จากทุ่งหญ้าตามธรรมชาติหรือจากการทำแปลงหญ้า แต่ในการเลี้ยงโคขุนควรจะทำแปลงหญ้าเองเพราะเป็นที่ทราบกันแล้วว่าโคขุนต้องการอาหารที่ค่อนข้างดี โดยเฉพาะการเลี้ยงโคขุนโดยใช้อาหารหยาบล้วนก็จำเป็นจะต้องมีแปลงหญ้าคุณภาพดี หญ้าที่แนะนำได้แก่ หญ้าขน หญ้ารูซี่ ซึ่งเหมาะต่อการเลี้ยงโดยการปล่อยแทะเล็ม และหญ้ากินนีเหมาะสำหรับตัดสด โดยทั่วไปโคจะกินหญ้าสดประมาณวันละ 35-40 ก.ก./ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดของโค แต่ในการเลี้ยงโคขุนเราใช้อาหารข้น ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงเสริมให้โค โคจึงอาจมีความต้องการอาหารหยาบลดลง
- วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรอื่นๆ เช่น ฟางข้าว เปลือกสับปะรด ต้นข้าวโพด ยอดอ้อย ถึงแม้ว่าวัสดุดังกล่าวบางอย่างจะมีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างต่ำ แต่ก็สามารถใช้เลี้ยงโคขุนแบบขุนโดยเสริมอาหารข้นได้ดี คุณค่าทางอาหารนี้ที่ขาดไปจากวัสดุเหล่านี้ก็จะเสริมให้โดยสูตรอาหารข้น
2. อาหารข้นหรืออาหารผสม
อาหารข้น คืออาหารที่มีเปอร์เซนต์เยื่อใยต่ำ มีเปอร์เซนต์โปรตีนสูง มีการย่อยได้สูง ประกอบด้วยวัสดุต่าๆง ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงผสมกันให้ครบส่วนตามความต้องการของโค ใช้เสริมกับอาหารหยาบ และอาจเลือกใช้สูตรให้เหมาะสมกับวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นและราคาถูก
ตารางที่ 1 สูตรอาหารสำหรับโคอายุ 7-12 เดือน หรือน้ำหนักไม่เกิน 200 ก.ก. มีดังนี้
วัตถุดิบ
|
สูตรที่
|
|||||||||
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
|
ข้าวโพด มันเส้น ปลายข้าว รำละเอียด กากฝ้ายทั้งเปลือก กากถั่วเหลือง ใบกระถินล้วน กากมะพร้าว ยูเรีย กระดูกป่น เกลือป่น กำมะถันผง |
78.5
– – – – – 16.5 – 2.5 1 1.0 0.1 |
75
– – – – – 10 10 2.5 1 1.0 0.1 |
70
– – 20 – 5 – – 2.5 1 1.0 0.1 |
40
30 – – 10 5 10 – 2.5 1 1.0 0.1 |
40
– 40 – – 5 – 10 2.5 1 1.0 0.1 |
15
50 – 10 – 10 10 – 2.5 1 1.0 0.1 |
–
65 – – 10 10 10 – 2.5 1.5 1.0 0.1 |
–
70 – – 5 15 5 – 2.5 1.5 1.0 0.1 |
–
– 70 10 – 5 10 – 2.5 1.5 1.0 0.1 |
–
– 75 – – 5 15 – 2.5 1.5 1.0 0.1 |
% โปรตีน % โภชนะย่อยได้ (TDN) % แคลเซียม % ฟอสฟอรัส |
18.0
74.0 1.1 0.5 |
17.9
73.4 1.1 0.8 |
18.2
74.5 1 0.6 |
18.3
74.4 0.9 0.4 |
17.7
75.7 1.1 0.6 |
17.6
75 0.9 0.4 |
17.9
74 0.9 0.4 |
17.6
75.7 0.8 0.4 |
18.3
74 0.9 0.5 |
18.4
74 1.2 0.4 |
ที่มา : กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
ตารางที่ 2 สูตรอาหารสำหรับโคอายุ 1 ปีขึ้นไป หรือน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 200 ก.ก. มีดังนี้
วัตถุดิบ
|
สูตรที่
|
|||||||||
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
|
ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ปลายข้าว มันเส้น กากฝ้ายกระเทาะเปลือก กากฝ้ายทั้งเปลือก ใบกระถินล้วน กระดูกป่น ยูเรีย เกลือป่น กำมะถันผง |
–
– – 82.5 13 – – 1 2.5 1 0.1 |
–
– – 75.5 – 20 – 1 2.5 1 0.1 |
20
– – 60.5 – – 15 1 2.5 1 0.1 |
–
25 – 55.5 – – 15 1 2.5 1 0.1 |
40
– – 47.5 – – 8 1 2.5 1 0.1 |
–
50 – 37.5 – – 8 1 2.5 1 0.1 |
60
– – 22.5 – – – 1 2.5 1 0.1 |
–
70 – 16.2 – – – 1 2.5 1 0.1 |
–
– 90 – – – 5.8 1 2.5 1 0.1 |
–
95.8 – – – – – 1 2.5 1 0.1 |
% โปรตีน % โภชนะย่อยได้ (TDN) % แคลเซียม % ฟอสฟอรัส |
14.00
77 0.54 0.40 |
14.2
73.6 0.55 0.30 |
14.0
75.5 0.64 0.30 |
14.0
75.4 0.72 0.25 |
14.1
75.4 0.58 0.40 |
14.0
75.5 0.74 0.30 |
14.1
76.5 0.53 0.34 |
14.2
76.4 0.77 0.34 |
14.4
77.0 – – |
14.2
76.7 – – |
* หมายเหตุ ถ้าต้องการใช้อาหารข้นร่วมกับเปลือกสับปะรดควรเติมปูนขาวลงไปในอาหาร 2.5 ก.ก.ทุกๆ 100 ก.ก. ของอาหารข้นเพื่อลดการเป็นกรด
ที่มา : กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
ตารางที่ 3 สูตรอาหารสำหรับโคขุน
วัตถุดิบ
|
อาหารสำหรับโคขุน (น้ำหนัก 250-450 ก.ก.)
|
||||
สูตรที่ 1
|
สูตรที่ 2
|
สูตรที่ 3
|
สูตรที่ 4
|
สูตรที่ 5
|
|
รำละเอียด รำหยาบ ปลายข้าว ข้าวฟ่างบด ข้าวโพดบด มันเส้น กากถั่วเหลือง กากปาล์ม กากมะพร้าว ใบกระถินป่น อาหารแร่ธาตุ กระดูกป่น เปลือกหอยป่น ไดแคลเซียมฟอสเฟต กำมะถัน เกลือ ยูเรีย หัวอาหาร |
15
– – 31 40 – 10 – – – 4 – – – – – – – |
15
– 31 – 40 – 10 – – – 4 – – – – – – – |
26
– – – 60 – 10 – – – 4 – – – – – – – |
15
– – – 5 60 10 – – 10 4 – – – – – 1 – |
20
5 – – 20 20 – 20 5 5 0.5 1 0.4 0.5 0.1 1 1 0.5 |
ที่มา :
(1) กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ (สูตรที่ 1-4)
(2) สอบถามจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุน (สูตรที่ 5)
ตารางที่ 4 แสดงปริมาณอาหารข้นที่จะใช้เสริมเมื่อใช้อาหารหยาบตามชนิดและปริมาณต่างๆ ให้เหมาะสมกับขนาดของสัตว์ต่อวัน
น้ำหนักโค (ก.ก.)
|
เลี้ยงร่วมกับหญ้าสดหรือต้นข้าวโพดอ่อน
|
เลี้ยงร่วมกับฟาง
|
เลี้ยงร่วมกับเปลือกสับปะรด
|
ระยะเวลาในการขุนเพื่อ
ให้ได้น้ำหนัก 400 ก.ก. เมื่ออัตราการเจริญเติบโตต่อวัน เท่ากับ 0.8 ก.ก. (วัน) |
|||
อาหารข้น (ก.ก.)
|
หญ้าหรือต้นข้าวโพด (ก.ก.)
|
อาหารข้น (ก.ก.)
|
ฟาง (ก.ก.)
|
อาหารข้น (ก.ก.)
|
เปลือกสับปะรด (ก.ก.)
|
||
100 |
2
2.5 3.0 3.5 4.0 5.0 6.0 7.0 |
5
11 12 15 18 16 16 16 |
2.5
3.0 3.5 4.0 4.5 5.5 6.5 7.5 |
1
2.5 3.5 5.0 6.0 5.0 5.0 5.0 |
–
2.0 2.5 3.0 3.5 4.0 5.0 6.0 |
–
25 30 35 40 45 45 45 |
375
313 250 188 125 63 – – |
หมายเหตุ
- ให้กินอาหารข้นตามปริมาณที่แสดงไว้ในตารางและให้กินอาหารหยาบอย่างเต็มที่ หรือไม่ควรน้อยกว่าในตาราง จะทำให้โคเจริญเติบโตได้วันละประมาณ 0.8-1 ก.ก.
- ถ้าอาหารหยาบคุณภาพดีกว่า เช่นหญ้าอ่อนก็อาจจะลดอาหารข้นลงอีกได้ตามสมควร
อธิบายตารางที่ 4 ตัวอย่าง
- ถ้าโคที่ต้องการขุนมีน้ำหนักเริ่มต้น 100 ก.ก. เลี้ยงด้วยหญ้าหรือต้นข้าวโพดอ่อน โคจะกินหญ้าหรือต้นข้าวโพดประมาณ 5 ก.ก./วัน และผู้เลี้ยงก็จะต้องเสริมอาหารข้นให้โควันละ 2 ก.ก. และเมื่อโคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 150, 200, 250 … ตามความต้องการอาหารก็จะเพิ่มขึ้นดังตาราง ทำให้โคได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกายและจะทำให้โคมีการเจริญเติบโต เพิ่มน้ำหนักวันละ 0.8 ก.ก. ซึ่งจะใช้เวลาขุนประมาณ 375 วัน เพื่อให้ได้น้ำหนักตัว 400 ก.ก.
- ถ้าเริ่มขุนโคที่มีน้ำหนัก 200 ก.ก. ด้วยฟางข้าว ก็จะต้องให้โคกินฟางข้าว 3.5 ก.ก. อาหารข้น 3.5 ก.ก. เมื่อโคมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเป็น 250, 300, 350 … ก็ให้อาหารเพิ่มขึ้นโดยคิดเป็นฟางข้าว/อาหารข้น 5/4, 6/4.5, 5/5.5 … ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้โคเพิ่มน้ำหนักตัววันละ 0.8 ก.ก. และจะใช้เวลา 250 วัน ในการเพิ่มน้ำหนักตัวเป็น 400 ก.ก.
สำหรับสูตรอาหารข้น ก็อาจจะใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง ตามความเหมาะสมของอายุโค และสภาพในท้องถิ่น
การสุขาภิบาล หมายถึง การจัดการใดๆ ที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและตัวโค เพื่อทำให้โคอยู่สบาย สุขภาพดี ซึ่งส่งผลให้มีการเจริญเติบโตดีตามไปด้วย ได้แก่ การเลือกแบบ ขนาดและความสะดวกของโรงเรือน อาหารและการให้อาหาร การถ่ายเทอากาศ และพาหะนำโรคต่างๆ
หลักการให้อาหารโคขุน
อาหารที่ใช้ขุนโคมีทั้งอาหารหยาบและอาหารข้น อัตราส่วนระหว่างอาหารหยาบและอาหารข้นจะเป็นเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับ
- ราคาของอาหารทั้งสองเปรียบเทียบกัน
- อายุและสภาพของโค
- ระยะเวลาของการขุน คือระยะต้นหรือระยะปลาย
- จำนวนอาหารข้นที่ให้ ให้กินอย่างเต็มที่หรือกินอย่างจำกัด ถ้าให้กินอาหารข้นจำกัด จำนวนอาหารหยาบที่ใช้เลี้ยงโคต้องเพิ่มสูงขึ้นด้วย
- อากาศ ถ้าอากาศร้อนควรให้อาหารข้นในปริมาณสูงขึ้น
โดยปกติแล้วอัตราส่วนระหว่างอาหารหยาบต่ออาหารข้นสำหรับโคขุนควรเป็นดังนี้ คือ
ระยะเริ่มต้น | อาหารหยาบ | : | อาหารข้น = 70 : 30 |
ระยะกลางขุน | อาหารหยาบ | : | อาหารข้น = 30 : 70 |
ระยะปลายของการขุน | อาหารหยาบ | : | อาหารข้น = 15: 85 |
ปริมาณอาหารที่ให้โคขุน การให้อาหารที่ถูกต้องทั้งด้านปริมาณและโภชนะที่โคต้องการนั้น ต้องให้ตามความต้องการของโค ซึ่งจะมีการคำนวณและมีการใช้ตาราง ซึ่งจะต้องมีความรู้เรื่องนี้พอควร แต่ที่จะกล่าวต่อไปเป็นหลักเกณฑ์โดยปริมาณในการให้อาหารแก่โคขุนที่มีอายุต่างๆ กันคือ
1. โคมีอายุ 2 ปีขึ้นไป | กินอาหารวัตถุแห้ง | 2 % | ของน้ำหนักตัว |
2. โคที่มีอายุ 1-2 ปี | กินอาหารวัตถุแห้ง | 2.5 % | ของน้ำหนักตัว |
3. โคอายุต่ำกว่า 1 ปี | กินอาหารวัตถุแห้ง | 3% | ของน้ำหนักตัว |
ตัวอย่าง โคตัวหนึ่งอายุ 2 ปี หนัก 240 ก.ก. ถูกนำมาขุนระยะหนึ่งโดยใช้อัตราส่วนระหว่างอาหารหยาบต่ออาหารข้น 30 : 70 อยากทราบว่าจะให้โคตัวนี้กินอาหารหยาบและอาหารข้นวันละเท่าใด
โคกินอาหารวัตถุแห้ง (2% น้ำหนักตัว) |
= 2/100 X 240 | ||
= 4.80 | ก.ก. | ||
ในอาหารหยาบจะมีวัตถุแห้ง | = 4.80 X 30 / 100 | ||
= 1.44 | ก.ก. | ||
ในอาหารข้นจะมีวัตถุแห้ง | = 4.80 – 1.44 | ||
= 3.36 | ก.ก. | ||
(โดยทั่วไปอาหารหยาบสดจะมีวัตถุแห้ง 20-25% มีความชื้น 75-80% ในที่นี้ขอใช้ 20%) | |||
วัตถุแห้งในอาหารหยาบสด 20 ก.ก. มาจากหญ้าสด | 100 | ก.ก. | |
วัตถุแห้งในอาหารหยาบสด 1.44 ก.ก. มาจากหญ้าสด | = (100 X 1.44) / 20 | ||
= 7.2 | ก.ก. | ||
(โดยทั่วไปอาหารข้นที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ จะมีความชื้นระหว่าง 12-15% ในที่นี้ขอใช้ 12%) | |||
อาหารข้นมีวัตถุแห้ง (100-12) 88 ก.ก. มาจากอาหารข้น | = 100 | ||
อาหารข้นมีวัตถุแห้ง 3.36 ก.ก. มาจากอาหารข้น | = (100 X 3.36) / 88 | ||
= 3.82 | ก.ก. | ||
คำตอบ โคขุนตัวนี้ควรได้รับอาหารดังนี้ | |||
– หญ้าสด วันละ | = 7.20 | ก.ก. | |
– อาหารข้น วันละ | = 3.82 | ก.ก. |