ทำความสะอาดคอกที่จะขุน เตรียมที่ให้น้ำ และรางอาหารให้พร้อม นำโคเข้าคอกขุน ถ่ายพยาธิทั้งภายใน-นอก ฉีดวัคซีนตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดให้ทำในพื้นที่นั้นๆ ระยะ 21 วันแรกเป็นระยะให้โคปรับตัวกับการกินอาหารข้น (Pretest) โดยให้อาหารดังนี้
- วันที่ 1 ให้โคกินอาหารข้น 1 ก.ก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
- วันที่ 2 ให้โคกินอาหารข้น 2 ก.ก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
- วันที่ 3 ให้โคกินอาหารข้น 3 ก.ก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
- วันที่ 4 ให้โคกินอาหารข้น 4 ก.ก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
- วันที่ 5 จนถึงวันที่ 21 ให้กินวันละ 4 ก.ก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
- วันที่ 22 เป็นวันเริ่มต้นขุน ให้โคกินเต็มที่ ร่วมกับอาหารข้นและอาหารหยาบ
การเลี้ยงขุน
- วันที่เริ่มขุนควรวัดรอบอกโคและเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับโคขุน เช่น เบอร์ตัว วันเกิดโค (ถ้ามี) เบอร์พ่อ เบอร์แม่ พันธุ์โคที่ขุน ลงในบัตรหน้าคอกโคขุนเป็นรายตัว
- ให้อาหารข้นสำเร็จรูปมีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 14% ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยให้โคกินเต็มที่ ควรให้กินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง อย่าน้อยควรให้วันละ 2 ครั้ง ในฤดูร้อนควรให้อาหารตอนเช้ามืดหรือตอนเย็นเมื่ออากาศเย็น จะทำให้โคกินอาหารได้มากขึ้น
- ต้องมีน้ำสะอาดให้โคกินตลอดเวลา โคจะกินน้ำวันละประมาณ 20-50 บลิตร ขึ้นอยู่กับขนาดโคและสภาพอากาศ อ่างน้ำควรทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่ควรให้ถูกแดดจะทำให้น้ำมีความร้อน โคจะกินน้ำน้อยและทำให้กินอาหารได้น้อยลงด้วย
- โคที่โตช้าควรคัดออก เมื่อโคถ่ายมูลออกมาควรรีบตักออกโดยเร็ว จะทำให้คอกสะอาดอยู่เสมอ ควรล้างคอกเมื่อสกปรกมากเท่านั้น การอาบน้ำแปรงขนจะทำให้โคไม่เครียดและโตเร็ว การอาบน้ำและล้างคอกควรทำให้ช่วงบ่ายเพราะคอกจะแห้งเร็ว ไม่ชื้นแฉะ ซึ่งอาจทำให้โคปอดบวมได้ ไม่ควรปล่อยโคออกไปเดินแทะเล็มหญ้านอกคอกเพราะจะทำให้โคใช้พลังงานจากอาหารมากขึ้น น้ำหนักจะลดหรือโตช้าลง
- สังเกตว่าโคกินอาหารได้ตามปกติหรือไม่ โคทีไม่กินอาหารควรฉีดวิตามิน บี 12 เพื่อช่วยกระตุ้นจะลินทรีย์ที่ช่วยย่อยเยื่อใยของอาหาร ให้แร่ธาตุที่มีโคบอลต์เพื่อเสริมการออกฤทธิ์ของวิตามิน บี
- โคที่กินอาหารข้นมากเกินไปจะเป็นกรดในกระเพาะอาหารทำให้เบื่ออาหาร ท้องร่วงมีมูกเลือด หากโคเริ่มแสดงอาหารดังก่าวให้ลดอาหารข้นลง เพิ่มอาหารหยาบ เช่นหญ้า ให้กินมากขึ้น โคที่ป่วยไม่มากนักให้กรอกด้วยด่างเข้าทางปาก ด่างที่ใช้เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต 112 กรัม ผสมกับน้ำอย่างน้อย 600 มิลลิลิตร (หรือประมาณ 1 ขวดกลม) หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-3 ชั่วโมง ให้กรอกอีกครั้งโดยใช้ด่างครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าว หรือใช้น้ำเกลือกแทงเข้าเส้นเลือดบริเวณคอ เพราะน้ำเกลือเข้าสู่ร่างกายจะออกฤทธิ์เป็นด่าง หากโคมีอาหารหนักมากให้ตามเจ้าหน้าที่หรือสัตวแพทญืมารักษา เพราะอาจต้องผ่าเปิดกระเพาะเอาอาหารข้นออกแล้วแทนที่ด้วยฟางหรืออิเล็กโทรไลต์ หลังจากนั้นต้องฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ การฉีดแอนติฮีสตามินจะช่วยให้โคฟื้นตัวเร็วขึ้น โคที่เป็นเรื้อรังควรคัดออก
- โคที่มีการท้องอืด อาการที่เห็นชัดคือ สวาปด้านซ้ายพองเต่ง โคอึดอัดกระวนกระวายหายใจไม่ออก วิธีแก้ใหยกส่วนหน้าโคให้สูงหรือใช้สายยางขนาด 1/2 นิ้ว ยาวประมาณ 150 ซ.ม. แหย่เข้าไปในปากจนถึงกระเพาะ หรือใช้โทรคาแคนนูลาหรือไม้ไผ่ตัดเป็นปากฉลามขนาด 1/4 นิ้ว ยาว 7-8 นิ้ว แทงบริเวณกลางสวาปซ้าย กรณีที่มีฟองแก๊ซมากต้องกรอกปากโคด้วยน้ำมันพืชปริมาณ 0.5-1 ลิตร ทุกครึ่งชั่วโมง เมื่อรักาาหายแล้วควรหาสาเหตุเพื่อแก้ไขซึ่งอาจเกิดเนื่องจากได้กินหญ้าอ่อน พืชตะรกูลถั่ว ยูเรีย และอาหารข้นมากเกินไป หรืออาจเกิดจากการกินอาหารที่เน่าเสีย สารพิษ สารเคมี
- โคที่มีอาการซึม เบื่ออาหาร หายใจถึ่ หายใจไม่สะดวก มีน้ำมูกไหล อาจเป็นปอดบวม แก้ไขโดยให้โคอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท อยู่สบาย ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น สเตรปโตมัยซิน เพนนิซิลลิน ออกซีเตตราซัยคลิน หรือนีโอมัยซิน เป็นต้น
ไม่ควรให้ฝูงโคจากภายนอกเข้ามาในบริเวณที่ขุนโค เพราะจะทำให้โคขุนติดโรคระบาดได้
ควรวัดรอบอกโคอย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อจะได้ทราบการเจริญเติบโตของโค บันทึกความยาวรอบอกที่วัดเก็บไว้ด้วย