การหย่านมลูกโค
เกษตรกรโดยทั่วไปมักปล่อยให้ลูกโคอยู่กับแม่จนโตจนกระทั่งแม่โคคลอดลูกตัวใหม่ ซึ่งจะมีผลเสียทำ ให้แม่โคขณะอุ้มท้องใกล้คลอดมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ เพราะต้องกินอาหารเพื่อเลี้ยงทั้งลูกโคที่กำลังอยู่ในท้องและ ลูกโคตัวเดิมอีกด้วย
ดังนั้นจึงควรหย่านมลูกโคที่อายุประมาณ 6 เดือนครึ่งถึง 7 เดือน แต่ทั้งนี้ให้คำนึงถึง สุขภาพของลูกโคและแม่โคด้วย เมื่อหย่านมลูกโคที่อายุประมาณ 200 วัน ควรได้น้ำหนักหย่านมเฉลี่ย 180 กก. โดยปกติหากหย่านมลูกโคเร็วเท่าใดก็จะทำให้แม่โคมีโอกาสฟื้นฟูสุขภาพเร็วเท่านั้น ลูกโคที่โตเร็วก็ สามารถหย่านมได้เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน จะมีผลให้แม่โคสุขภาพไม่ทรุดโทรมมากนัก หากแม่โคผอมมากไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ต่อไปควรหย่านมก่อนกำหนดได้ ลูกโคที่ขนหยอง แสดงว่า แม่มีนมไม่พอเลี้ยงลูก ควรรีบแยกหย่านมนำมาเลี้ยงดูต่างหาก
การหย่านมลูกโคที่อายุต่ำกว่า 5 สัปดาห์ จะต้องให้อาหารนมหรืออาหารแทนนมแบบเดียวกับการเลี้ยงลูกโคนม ควรให้ลูกโคกินอาหารหยาบพวกหญ้า ไม่เกิน 15% วัตถุแห้งของอาหารลูกโค ถ้ามากกว่านี้จะทำให้ประสิทธิภาพการใช้อาหารข้นลดลงเพราะจะไป แย่งเนื้อที่ในกระเพาะ ปริมาณอาหารข้นไม่ควรต่ำกว่า 50% แต่ควรเป็น 85% วัตถุแห้ง ถ้าจำเป็นที่ต้องให้ปลา หรือเนื้อป่นในอาหารเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนก็ควรจะรอให้ลูกโคกินอาหารเก่งเสียก่อนจึงค่อยผสมในอาหาร เพราะจะไปลดความน่ากิน การเลี้ยงลูกโคขนาดเล็กดังกล่าวต้องใช้อาหารคุณภาพดีซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้นหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรหย่านมลูกโคเร็วเกินไป
ลูกโคที่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงอาจหย่านมช้าลง โดยให้อยู่กับแม่ไปจนถึงอายุ 8 เดือน แต่ก็จะทำให้แม่ โคมีสุขภาพทรุดโทรมมาก มีผลทำให้เมื่อคลอดลูกตัวใหม่แล้วจะกลับเป็นสัดช้าลง ระยะเวลาในการให้ลูกตัว ต่อๆไปจะห่างขึ้น
ในฝูงปรับปรุงพันธุ์ของกรมปศุสัตว์จะหย่านมที่ลูกโคอายุประมาณ 200 วัน แต่เพื่อความสะดวกในการ จัดการจะไม่หย่านมเมื่อลูกโคอายุ 200 วันทุกตัว แต่จะหย่านมลูกโคทุกตัวที่มีอายุ 200 ± 22.5 วันหรือที่อายุ ห่างจาก 200 วันเท่ากับ 22 วัน โดยลูกโคที่แยกหย่านมกลุ่มนี้จะมีอายุห่างกันไม่เกิน 45 วัน(age slicing = 45 วัน) ซึ่งในทางสถิติถือว่าลูกโคอยู่ในกลุ่มเดียวกัน(contemporary group) สามารถนำน้ำหนักหย่านมมา เปรียบเทียบกันได้ โดยจะหย่าเมื่อหลังจากลูกโคที่คลอดตัวแรกมีอายุแล้ว 22.5 (หรือ 23 วัน) ลูกโคที่จะต้องถูก แยกหย่านมแม่ได้แก่ลูกโคที่คลอดตัวแรกซึ่งมีอายุ 223 วัน(ได้แก่ 200 + 23 วัน)ไปจนถึงลูกโคที่มีอายุอายุน้อย ที่สุด 177.5 วัน (200 – 22.5 วัน) หรือ 178 วัน ลูกโครุ่นต่อไปจะหย่านมหลังจากหย่านมครั้งแรก 45 วัน
ก่อนหย่านมควรให้ลูกโคได้มีโอกาสกินหญ้าในแปลงที่มีคุณภาพดีในขณะที่แม่โคได้กินหญ้าคุณภาพต่ำ กว่า แต่ลูกโคสามารถมาหาแม่ได้ตามที่ต้องการ ช่องลอดระหว่างแปลงห่างประมาณ 40-45 ซม. เมื่อหย่านมควรแน่ใจว่ามีอาหารให้ลูกโคกินอย่างเพียงพอ ถ้ายังไม่พร้อมก็ยังไม่ควรหย่านม ระยะหย่านมและหลังหย่านมควรมีอาหารคุณภาพดีให้ลูกโคกินอย่างเพียงพอ
หย่านมโดยแยกลูกโคจากแม่นำไปขังในคอกที่แข็งแรง ควรให้แม่โคอยู่ในแปลงหญ้าหรือคอกที่มีรั้วกั้น ที่มั่นคงซึ่งอยู่ใกล้กันเป็นเวลา 3-5 วัน เพราะหากให้ไปอยู่ไกลแม่โคส่วนหนึ่งจะแหกรั้วหรือคอกมาหาลูก หลังจาก 3-5 วันแม่โคจะเริ่มยอมรับสภาพและค่อยๆห่างไปจนสามารถต้อนไปแปลงหรือคอกที่ห่างไกลได้
ขังลูกไว้ในคอกประมาณ 7-10 วันโดยให้กินอาหารข้นและอาหารหยาบอย่างเต็มที่ คอกลูกโคหย่านม จะต้องอยู่ห่างจากคอกแม่พันธุ์ ระยะนี้เป็นการฝึกให้ลูกโคคุ้นเคยกับการให้อาหาร แร่ธาตุ การเข้าคอกคัด การ พ่นเห็บหรือซองต่างๆ การไล่ต้อน ซึ่งจะมีความสำคัญในการให้ประสบการณ์แก่โคไปตลอด ที่สำคัญก็คือ ควร เลี้ยงในแปลงหญ้าหรือคอกที่มีความมั่นคงแข็งแรงไม่ให้ลูกโคหนีได้ หากลูกโคสามารถหนีได้จะติดนิสัยไป ตลอด
ในฟาร์มที่เลี้ยงลูกโคขาย การที่จะได้กำไรมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนลูกโคที่หย่านมได้ในแต่ละปี ลูกโคที่หย่านมในฝูงจะน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆตามตารางที่ 5 ดังนั้นการจัดการเลี้ยงดูตามขั้นตอน ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นจึงมีผลต่อการผลิตลูกโคหย่านมมาก
ขอบคุณที่มาข้อมูล http://www.thailivestock.com/